การใช้ SABA ยาสูดพ่นขยายหลอดลมชนิดออกฤทธิ์สั้น 3 ครั้งต่อสัปดาห์หรือมากกว่านั้น เป็นข้อบ่งชี้ของการเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการจับหืดมากขึ้น

ผู้เชี่ยวชาญได้ร่วมกันพัฒนาแบบสอบถาม 5 ข้อ เพื่อประเมินการพึ่งยา คลิกข้างล่างนี้ เพื่อทำแบบทดสอบการพึ่งยาบรรเทาอาการ

แม้ว่ายาสูดพ่นเพื่อขยายหลอดลมระยะสั้น (SABA) จะช่วยบรรเทาอาการได้อย่างรวดเร็ว แต่การใช้ยานี้มากเกินไป (เช่น ผู้ป่วยใช้ยานี้ 3 ครั้งขึ้นไปต่อสัปดาห์) พบว่ามีความเกี่ยวข้องกับการเสี่ยงต่อการกำเริบของโรคมากขึ้น1

ในขณะเดียวกัน การใช้ยา 3 หลอดขึ้นไปต่อปี พบว่ามีความเกี่ยวข้องกับการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า2

ผู้ป่วยบางรายมองว่ายาสูดพ่นขยายหลอดลมชนิดออกฤทธิ์สั้นเพื่อบรรเทาอาการ คือสิ่งที่สำคัญที่สุดในการรักษาโรคหอบหืด แบบทดสอบสั้นๆ นี้ออกแบบขึ้นเพื่อประเมินว่าคนไข้ของท่านคิดอย่างไรเกี่ยวกับยาสูดพ่นเพื่อขยายหลอดลมระยะสั้นที่ใช้อยู่ และพวกเขาใช้ยานี้มากเกินไปหรือไม่

นอกจากนี้แบบทดสอบนี้ยังให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสาเหตุและสิ่งที่พวกเขาควรขอความช่วยเหลือจากแพทย์ พยาบาล หรือเภสัชกร

 

 

Loading......

 

แบบทดสอบการพึ่งยาบรรเทาอาการนี้ ดัดแปลงมาจากแบบสอบถามความเชื่อเกี่ยวกับยา4 ที่มีความถูกต้องและใช้กันทั่วโลก ถูกพัฒนาขึ้นโดย ศาสตราจารย์ ร็อบ ฮอร์น ผู้เชี่ยวชาญชั้นนำด้านเวชศาสตร์พฤติกรรม และคณะ จากอินเตอร์แนชันแนลไพรมารีแคร์เรสปิราทอรี กรุ๊ป (International Primary Care Respiratory Group -IPCRG) และได้รับทุนสนับสนุนอย่างเต็มที่จากบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า สหราชอาณาจักร จำกัด (AstraZeneca UK Limited) โครงการแอชมาไรท์แคร์ (Asthma Right Care) เป็นการขับเคลื่อนระดับโลกที่นำโดย IPCRG เพื่อให้เกิดประโยชน์ของการตระหนักในการใช้ยาให้ถูกต้องและเหมาะสม



นี่มิใช่คำแนะนำทางการแพทย์ ห้ามหยุดหรือเปลี่ยนยารักษาโรคหอบหืดที่ใช้อยู่โดยมิได้ปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลท่าน
IPCRG VERSION 2.0

นี่มิใช่คำแนะนำทางการแพทย์ ห้ามหยุดหรือเปลี่ยนยารักษาโรคหอบหืดที่ใช้อยู่โดยมิได้ปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลท่าน

ข้อมูลอ้างอิง

1. NPJ Prim Care Respir Med. 2014;24:14009.
2. Global Initiative for Asthma (GINA). Available at: https://ginasthma.org/wp-content/uploads/2019/04/GINA-2019-main-Pocket-Guide-wms.pdf (last accessed December 2019).
3. Psychology & Health. 1999;14(1):1–24.

 

เว็บไซต์นี้สำหรับบุคลากรทางการแพทย์

 

Loading......